missmay

missmay
Wonderful Night!!!

วันเสาร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2555

English Project

                                    1. หัวข้อโครงงาน (Title)
                                    2. ชื่อผู้ทำ             (Author)
                                    3. ชื่อที่ปรึกษาโครงงาน         (Advisor)
                                    4. ที่มาของปัญหา                   (Background and importance of the project)
                                    5. จุดมุ่งหมายของโครงงาน   (Objectives)
                                    6. ระยะเวลาดำเนินการ           (Periods of time)
                                    7. วิธีดำเนินการ                      (Methods)
                                    8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ            (Benefit of the project)
                                    9. สรุป                                     (Conclusion)
                                  10. เอกสารอ้างอิง                    (Reference)  

วันอาทิตย์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

Topic

Topic/Title (ชื่อเรื่อง) คือ คำหรือวลีที่ใช้กับข้อความ (เรียงความ เรื่อง บท รายงาน ฯลฯ) เพื่ออธิบายเนื้อหา ดึงดูดความสนใขของผู้อ่าน และทำนายลักษณะทั่ว ๆ ไป และแก่นสารของการเขียน ในการติดตามอ่านต่อไป ตามกฎของ Publication Manual of the American Psychological Association (คู่มือการพิมพ์เผยแพร่ของสมาคมทางจิตแห่งอเมริกา) ให้ใช้ตัวอักษรตัวใหญ่เพียงคำแรกของชื่อเรื่องและคำวิสามานยนาม (proper noun) ทุกคำ ซึ่งใช้แพร่หลายในระบบการเชื่อมต่อผ่านระบบเครือข่ายทางคอมพิวเตอร์ (online) และสิ่งพิมพ์ และในปัจจุบัน ใช้เป็นมาตรฐานสำหรับชื่อเรื่องและพาดหัวข่าวในประเทศส่วนมาก ชื่อเรื่องมีอิทธิพลต่อความสนใจของผู้อ่าน และบอกเป็นนัยของเนื้อเรื่อง โดยมีกลวีธีดังนี้ • ใช้วลีที่สำคัญและสั้นจากเนื้อเรื่อง • เสนอคำถามที่ต้องหาคำตอบจากเนื้อเรื่อง • เสนอคำตอบให้กับคำถามหรือเรื่องที่หาได้จากเนื้อเรื่อง • ใช้คำที่กระจ่างและมองเห็นภาพที่ต้องตาจากเนื้อเรื่อง • ใช้คำอ้างอิงที่แพร่หลาย ใช้ชื่อเรื่องได้ตั้งแต่หนึ่งคำ เป็นต้นไป • เริ่มต้นชื่อเรื่อง โดยใช้คำ On • เริ่มต้นชื่อเรื่อง โดยใช้คำนามที่มาจากคำกริยาเติม ing (gerund) Forum topic titles (ข้อตกลงสำหรับการตั้งชื่อเรื่อง) เมื่อกำหนดชื่อเรื่องที่ดี จะเป็นการง่ายต่อการการอ่านคร่าว ๆและง่ายในการเรียกข้อมูล คืนมา เช่น ถ้าคุณป่วย คุณต้องการความช่วยเหลือทางการแพทย์ และคุณใช้ IT (Information Technology = ข้อมูลสนเทศ) ในการติดต่อ ตัวอย่าง ชื่อเรื่องที่ไม่ดี HELP!!! ช่วยด้วย!!! ตัวอย่าง ชื่อเรื่องที่ดี English-speaking doctors in Berlin - personal recommendations for a GP ต้องการแพทย์ที่พูดภาษาอังกฤษในกรุงเบอร์ลิน – ผู้ที่เป็นแพทย์ทั่วไป (GP=general practitioner) ผู้อ่านควรจะเดาเนื้อหาได้ เพียงแต่อ่านชื่อเรื่อง จากตัวอย่างที่ 1 ผู้อ่านจะไม่เข้าใจความหมาย แต่จากตัวอย่างที่ 2 จะเข้าใจได้ทันที่ถึงวัตถุประสงค์ การตั้งชื่อเรื่องดี มีผลอย่างมากต่อผู้อ่าน นอกจากชื่อเรื่องดีแล้ว ยังดึงดูดผู้อ่านกลุ่มที่มีแนวโน้มไปยังชื่อเรื่องนั้น รายละเอียดในการตั้งชื่อเรื่อง มีดังนี้ 1. Accurate and descriptive (ถูกต้องและบรรยายความ) ข้อตกลง ชื่อเรื่องควรถูกต้องและบรรยายเนื้อหาอย่างตรงไปตรงมา เหมาะสำหรับผู้อ่านทั่วไปที่สามารถรู้ความหมายที่แท้จริงจากการอ่าชื่อ เรื่องที่อธิบายอย่างเดียว โดยไม่ต้องอ่านเนื้อหา คำอธิบาย ผู้อ่านมีเวลาน้อย จึงไม่มีเวลาหรือความอดทนที่จะอ่านทุกเรื่อง เพื่อดูว่าเป็นเรื่องที่เขาสนใจหรือไม่ ผู้อ่านชอบที่จะอ่านผ่านรายชื่อของชื่อเรื่อง และนำข้อมูลเหล่านี้ไปเลือกการอภิปรายที่ต้องการอ่านต่อไป 2. Keywords first (ขึ้นต้นด้วยคำหลัก) ข้อตกลง คำหลักควรอยู่เป็นคำแรกในชื่อเรื่อง ตามด้วยคำอื่นที่ไม่ใช่คำหลัก ตัวอย่างที่ผิด "Can anyone on this website recommend to me a really good tax advisor?" “ใครก็ตามที่อยู่บนเว็บไซด์ สามารถช่วยแนะนำผู้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับ ภาษีที่ดีจริง ๆ ให้กับฉัน ได้ไหม?” ตัวอย่างที่ถูก "Tax advisors - personal recommendations" “ผู้ให้คำแนะนำเรื่องภาษี – การให้คำแนะนำรายบุคคล” คำอธิบาย ข้อตกลงสำหรับดัชนี จะไม่แสดงชื่อเรื่องเต็มเสมอไป เนื่องจากมีพื้นที่จำกัด ดังนั้นจึงมีเพียงคำ 2-3 คำที่ปรากฎ ถ้าคำหลักอยู่ที่ตอนท้ายชื่อเรื่อง จะไม่ปรากฏ ให้เห็น การให้ชื่อเรื่องในดัชนีจึงไม่มีประโยชน์ และการค้นหาใน Google จะค้นพบเพียงคำ 2-3 คำแรกในชื่อเรื่องเท่านั้น 3. Do not mislead (อย่าใช้คำที่ทำให้เข้าใจผิด) บางคนอาจจะคิดถึงการดึงดูดความสนใจจากผู้อ่านให้มากเท่าที่จะทำได้ จึงเป็นความคิดที่ดี ที่จะตั้งชื่อเรื่องให้ดูฟั่นเฟือน ตลก และหลงผิดจากเรื่อง ตัวอย่าง ใช้ชื่อเรื่อง "free sex here (เสรีภาพทางเพศสัมพันธ์)" แต่เนื้อเรื่องไม่เกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ 4. Neutral point of view (ทำแนวคิดให้เป็นกลาง) เขียนอย่างเป็นกลาง – ชื่อเรื่องไม่ควรมีความลำเอียง ทั้งในแนวเรื่องหรือการเลือกใช้คำ 5. English language (ใช้ภาษาอังกฤษ) ข้อตกลง ใช้ภาษาอังกฤษเสมอ ยกเว้นเรื่องที่เขียนเจาะจงเกี่ยวกับคำภาษาอื่น ตัวอย่าง: เมื่อต้องการโฆษณาเกี่ยวกับการให้เช่าพื้นที่จอดรถที่ชั้นใต้ดิน ควรเขียนชื่อเรื่องว่า "Underground garage parking space for rent (ให้เช่าพื้นที่จอดรถที่ชั้นใต้ดิน)" ไม่ควรเขียน "Tiefgarage Stellplatz for rent" เหตุผล ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากลที่ใช้ทั้งทาง TT (Technology Transfer) และที่ต่าง ๆ 6. American vs. British English (การใช้ภาษาอังกฤษที่ใช้ในประเทศอเมริกันกับภาษาอังกฤษที่ใช้ในประเทศอังกฤษ) ในการพูดคุยทางอินเตอร์เนท (chat) นั้น ร้อยละ 40 เป็นผู้ที่ใช้ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน และร้อยละ 40 ใช้ภาษาอังกฤษแบบอังกฤษ ส่วนที่เหลือ ร้อยละ 20 ใช้ภาษาอื่น สำหรับคำหลัก (keyword) ที่ ไม่สำคัญ การเริ่มต้นสะกดชื่อเรื่องจะหลากหลายไปตามภาษาอังกฤษที่ใช้อยู่ สำหรับคำหลักที่สำคัญ ควรจะสะกดทั้งคำภาษาอังกฤษแบบอังกฤษและแบบอเมริกัน – นอกจากมีเนื้อที่จำกัด. ตัวอย่าง ชื่อเรื่องที่เกี่ยวกับสถานที่รับซักรีดเสื้อผ้า ชื่อเรื่องควรมีทั้งคำว่า "Laundromat" (อเมริกา) และ "Laundrette" (อังกฤษ). ชื่อเรื่องที่มีคำว่า "realise" ควรสะกด "realise" หรือ "realize" ขึ้นอยู่กับผู้เขียน 7. Capitalisation (การใช้ตัวพิมพ์ใหญ่) ข้อตกลง คำแรกและคำวิสามานยนาม (คำนามที่เป็นชื่อเฉพาะของคน สัตว์ สิ่งของ) เท่านั้นที่ใช้ตัวใหญ่ แบบนี้เรียกว่า down-style capitalisation ในแบบ up-style capitalization คำนามและเกือบทุกคำที่มีตัวอักษรมากกว่า 4 ตัว แบบ down-style เป็นแบบที่นิยมใช้ในการตั้งชือทาง TT ตัวอย่าง แบบ down-style: "Powell to lead U.S. delegation to Asian tsunami region" – ถูก แบบ up-style: "Powell to Lead U.S. Delegation to Asian Tsunami Region" – ผิด 8 .Dates (วันที่) วันที่ควรเขียนตามรูปแบบ d.mm.YYY. (วัน.เดือน.ปี) ตัวอย่าง: 1.May.2007 หรือ 27.Nov.2008 รูปแบบนี้ใช้เป็นมาตรฐาน TT เนื่องจากเป็นรูปแบบที่ได้ใจความที่ยอมรับทั่งในระบบ Y2K (ปี 2000) และเป็นที่เข้าใจง่ายทั้งในผู้อ่านชาวอังกฤษและชาวอเมริกัน การลงข้อความในเหตุการณ์สำคัญ ต้องระบุวันที่ตามรูปแบบนี้ เพื่อจะได้ถูกรวบรวมอยู่ในปฏิทินเหตุการณ์สำคัญ 9 . Swearing (การสาบาน) ข้อตกลง ไม่ควรนำคำสาบานมาใช้เขียนเป็นชื่อเรื่อง รวมทั้งคำที่เราไม่คิดว่าเป็นคำสาบานแต่คนอื่นคิดว่าเป็น ซึ่งรวมถึงการสะกดคำผิดหรือคำที่ทำให้สับสน ตามกฏทั่วไปแล้ว ถ้าสำนักข่าว BBC (BBC News) ไม่เคยใช้คำใดในการพาดหัวข่าว คำนั้นก็ไม่ควรนำมาใช้ในการตั้วชื่อเรื่อง Copyright and trademark infringement การละเมิดลิขสิทธิ์และเครื่องหมายการค้า ไม่อนุญาตให้ใช้ชื่อเรื่องที่ลงท้ายด้วยคำวลี "for Dummies" ตัวอย่าง การใช้ข้อความว่า "The German language for Dummies (ภาษาเยอรมันสำหรับการ เลียนแบบ)" เป็นการผิดกฏหมาย เหตุผลคือ "for Dummies" เป็นเครื่องหมายการค้า ของบริษัทที่พิมพ์หนังสือซึ่งได้ลงทะเบียนไว้ ถ้ามีชื่อเรื่องที่มีข้อความนี้ในระบบ TT ทางบริษัทจะส่งจดหมายไปยัง TT ขอให้ลบทิ้งข้อความนี้ หรือจะเป็นการกระทำที่ผิด กฏหมาย 10.. Humour (อารมณ์ขัน) การใช้อารมณ์ขันเป็นสิ่งที่ดีและเป็นที่ส่งเสริมให้ทำ นอกจากชื่อเรื่องที่ที่ต้องทำตามข้อ ตกลง ตัวอย่างที่ไม่ดี หัวข้อเรื่องที่แย่ที่สุดในโลก คือ "HELP!!!!!!!!!!!!!" “ช่วยด้วย!!!!!!!!!” ชื่อเรื่องนี้ขัดกับข้อตกลงทุกข้อ ยกเว้นข้อที่ห้ามใช้คำสาบาน อย่างไรก็ตาม ชื่อเรื่องแบบนี้นำไปใช้บ่อย และไม่ใช่เพียงผู้ที่เข้ามาในวงการใหม่ ผู้คนมีความฉงนว่าข้อความ เกี่ยวกับอะไร เมื่อเห็นชื่อเรื่อง “ช่วยด้วย” - พวกเขาคิดว่าชื่อเรื่องเหมาะสมหรือไม่? - พวกเขาได้สังเกตหรือไม่ ว่าชื่อเรื่องอื่นมีการบรรยายความมากกว่าชื่อนี้ Moderation complaints ศูนย์ร้องเรียน ที่เมือง Toytown ในประเทศเยอรมันนี เป็นศุนย์กลางการพูดคุยทางอินเตอร์เนท ชื่อเรื่องทั้งหมดจะทำ ให้ถูกต้องโดยคณะศูนย์กลาง เพื่อให้ถูกต้องตามข้อตกลงที่กล่าวมาเบื้องต้น ถ้าพบว่าชื่อเรื่องถูกเปลี่ยนไป อย่างไม่ถูกต้อง สามารถติดต่อกลับไปเพื่อขอให้ทำให้ถูกต้อง อีกครั้ง

วันพุธที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2555

การอ่านจับใจความ (Reading for Main Idea)

Reading for Main Idea
การอ่านจับใจความสำคัญ





ใจความสำคัญ (Main Idea) คืออะไร ?


Main Idea คือ ใจความสำคัญหรือใจความหลักของเรื่อง ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่สุดของเรื่อง ซึ่งเป็นส่วนที่ครอบคลุมและควบคุมเรื่องนั้นๆ กล่าวคือ ในแต่ละย่อหน้าต้องมี main idea เพียงอันเดียว และถ้าเมื่อขาด main idea ไปแล้ว ย่อมจะทำให้ไม่เกิดเนื้อเรื่องต่างๆ ขึ้น หรือทำให้ไม่ทราบจุดประสงค์เรื่องนั้นๆ แล้วทำให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนได้โดยปกติแล้ว main idea จะเป็นประโยคเท่านั้น การวิเคราะห์และค้นหา main idea ได้ ต้องเกิดจากการค้นหา Topic มาก่อน และนำเอาส่วน topic มารวมกับข้อความ ที่คอยควบคุมสาระเกี่ยวกับ topic นั้น กล่าวโดยสรุป คือ


1) พินิจพิเคราะห์และหา topic หรือเนื้อเรื่องที่อ่าน ว่าด้วยเรื่องอะไร (What is the topic idea?)

2) ส่วนที่ควบคุมประเด็นสาระที่เสนออยู่นั้นคืออะไร นั่นคือถูกควบคุมให้พูดถึงสิ่งใด แล้วนำเอา topic + สิ่งที่ควบคุม controlling idea) ก็จะได้เป็น main idea จึงเห็นได้ว่า main idea ที่ถูกต้อง จะต้องครอบคลุมสิ่งที่กล่าวในเรื่องได้โดยเฉพาะประเด็นหลักMain Idea & Topic sentence มีความคล้ายคลึงกันมาก Topic Sentence หมายถึง ประโยคที่บรรจุหัวเรื่องและใจความสำคัญไว้ ส่วนใหญ่มักวางไว้ที่ประโยคแรก หรือประโยคสุดท้ายของข้อความ ซึงมักหาได้จากเนื้อเรื่อง


ประเภทของ Main Idea: โดยทั่วไป ใจความสำคัญมีอยู่ทั้งหมด 2 ชนิดได้แก่


1. State main idea คือ หลักใหญ่ใจความที่สำคัญที่สุดของเรื่อง ซึ่งผู้เขียนบอกมาตรงๆ สามารถครอบคลุมเนื้อหาของเรื่องได้ทั้งหมด จะต้องตั้ง main idea ไว้ในการเขียน และบรรยายหรือธิบายโดยยึด main idea เป็นหลัก ส่วนที่ขยายหรือบรรยายให้รายละเอียดต่อจาก main idea คือ supporting idea โดยปกติ ในเนื้อความหนึ่งๆ เรามักจะพบ state main idea ได้ในตอนต้น ตอนกลาง หรือตอนท้ายของย่อหน้า

2. Implied main idea หมายถึง การกล่าวถึง main idea ในลักษณะที่ผู้เขียนไม่ได้เอ่ยมาตรงๆ ทันที เพียงแต่แสดงนัยให้เห็นเท่านั้น ผู้อ่านต้องวินิฉัยเอาเองเพื่อให้เห็นได้ชัดๆ Main Idea มีกี่ชนิดตำแหน่งของ Main Idea อยู่ตรงไหนบ้าง
2.1. อยู่ตรงต้นเรื่อง
ตัวอย่าง: A baby elephant is the biggest of all land babies. A newborn baby weighs more than two hundred pounds. It is about three feet high. The new baby is strong, too. Almost as soon as it is born, it can walk about. (ย่อหน้านี้กล่าวถึงลูกช้างว่าเป็นลูกสัตว์บก (land babies) ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด โดยบอกว่า ลูกช้างที่เกิดใหม่ จะมีน้ำหนักมากกว่า 200 ปอนด์ และสูงราว ๆ 3 ฟุต นอกจากนี้ ยังแข็งแรงด้วย เพราะตอนที่คลอดออกมา มันจะสามารถเดินได้ทันที ดังนั้น ใจความสำคัญ (main idea) จึงอยู่ที่ประโยคแรก คือ A baby elephant is the biggest of all land babies.)
2.2 อยู่ตรงกลางเรื่อง
ตัวอย่าง: Keep your tree outdoors until the day before Christmas. Never use lighted candles. There are also other suggestions for avoiding a Christmas tree fire. Turn off the lights before you leave the house and throw away the tree by New Year's Day. (ย่อหน้านี้กล่าวถึงคำแนะนำ เพื่อหลีกเลี่ยง มิให้เกิดไฟไหม้ต้นคริสต์มาสว่า ให้นำต้นคริสต์มาสไปไว้นอกบ้าน ก่อนจะถึงวันคริสต์มาสและไม่ให้จุดเทียนไว้ด้วย นอกจากนี้ ยังแนะนำอีกว่า ให้ปิดไฟก่อนออกจากบ้าน และทิ้งต้นไม้เมื่อถึงวันปีใหม่ ดังนั้น ใจความสำคัญ (main idea) จึงอยู่ที่ประโยคกลาง คือ There are also other suggestions for avoiding a Christmas tree fire.)

2.3 อยู่ท้ายเรื่อง (มีการกล่าวซ้ำอีกครั้งในตอนท้าย)
ตัวอย่าง: Most people are free to enjoy themselves in the evenings and on weekends. Some spend their time watching television, listening to the radio, or going to movies; others participate in sports. It depends on their interests. There are various ways to spend one's free time. (ย่อหน้านี้กล่าวถึง การใช้เวลาว่างของคนในตอนเย็น และวันสุดสัปดาห์ว่า บางคนจะดูโทรทัศน์ บางคนฟังวิทยุ ไปชมภาพยนตร์หรือไปเล่นกีฬา มันขึ้นอยู่กับความสนใจของแต่ละคน มีวิธีที่จะใช้เวลาว่างมากมายหลายวิธี ดังนั้น ใจความสำคัญ (Main Idea) จึงอยู่ที่ประโยคท้าย คือ There are various ways to spend one's free time.

2.4 ไม่อยู่ในประโยคใดประโยคหนึ่ง แต่ต้องสรุปเองโดยนัยดังที่กล่าวแล้วว่า การหา main idea นั้น จะต้องมีการค้นหา topic ก่อน ดูว่าเรื่องที่อ่านกล่าวถึงคำนามตัวไหนบ่อยที่สุด (topic Noun) แล้วดูว่ามีการกล่าวถึงนามคำนั้นว่าอย่างไร (Topic Idea) แล้วจึงดูว่าข้อความที่เป็นใจความสำคัญของเรื่อง topic idea นั้นอยู่ในประโยคใด ประโยคนั้นแหละเป็น Topic sentence หรือ Main Idea

คําถามที่นิยมใช้มากถามเกี่ยวกับใจความสําคัญ (Main Idea) =
1. What is the author's main point?
2. The main thought of this passage is _____ .
3. The main theme of the passage is _____ .
4. The best statement of this passage's main thought is that _____ .
5. What is the main idea of the passage?
6. The passage is primarily concerned with ….
7. Which of the following statements expresses the main idea?

Tips and Tricks

เคล็ดลับเด็ดๆ Main Idea: คำถามที่ถามถึงความคิดหลักของประโยคหรือบางทีถามถึงชื่อเรื่อง Title ทุกครั้งที่อ่านเนื้อเรื่องจึงต้อง หมั่นหา key word หรือ คำ วลี หรือประโยคซ้ำๆ กรุณาอย่าลืมความสำคัญของ paragraph แรกโดยเฉพาะประโยคแรกซึ่งมักจะ สื่อความคิดหลักของเนื้อเรื่องให้กับผู้อ่าน วิธีสังเกตง่ายมาก – *ใน Passage ทั่วไปถ้ามีการพูดถึงคำนามคำไหนมากที่สุด นั่นคือ Main Idea

ข้อควรสังเกตในการหาใจความสำคัญ (Main Idea)
1. Main idea มักจะขยายหัวเรื่อง (Topic) ของบทความ
2. Main idea อาจซ่อนอยู่ในประโยคต้นๆของบทความ
3. Main idea อาจเขียนซ่อน อยู่ตรงกลางหรือ ในประโยคท้ายๆ ของบทความ

การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญภาษาอังกฤษ ด้วยการทำแบบฝึกทักษะอย่างเป็นประจำและสม่ำเสมอ จะช่วยให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะอย่างหลากหลายวิธี สามารถทำให้ผู้เรียนมีพัฒนาการในการอ่านจับใจความดีขึ้น เช่น อ่านโฆษณา อ่านฉลากยา อ่านเรื่องสั้นแล้วตอบคำถาม อ่านการ์ตูน อ่านกราฟ อ่านป้ายต่างๆ

หลักการอ่านจับใจความสำคัญ (Reading for Main Ideas)

1. อ่านเรื่องที่ต้องการจับใจความสำคัญโดยเริ่มตั้งแต่ชื่อเรื่อง เพราะชื่อเรื่องมักสอดคล้องกับเนื้อเรื่อง หรือช่วยบ่งชี้ให้เห็นจุดสนใจของเรื่อง ให้อ่านตั้งแต่ต้นจนจบแล้วตอบคำถามให้ได้ว่า เรื่องที่อ่านเป็นเรื่องอะไร ใครทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร ทำไมจึงทำ และได้ผลอย่างไร

2. พิจารณาหาใจความสำคัญจากแต่ละย่อหน้า ย่อหน้าที่ดีต้องมีเอกภาพ ดังนั้นแต่ละย่อหน้าจึงมีใจความสำคัญเดียวซึ่งครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมด นอกจากนี้ผู้อ่านอาจสังเกตคำสำคัญ (keyword) ที่มักปรากฏให้เห็นหลายครั้งในย่อหน้านั้น อย่างไรก็ดีมิใช่ว่าทุกย่อหน้าจะมีใจความสำคัญของเรื่องเสมอไป หากย่อหน้านั้นเป็นเพียงการยกตัวอย่าง หรือรายละเอียดขยายใจความสำคัญในย่อหน้าก่อน

3. นำใจความสำคัญของเรื่องที่จับมาได้ทั้งหมดมาเรียบเมื่อเราอ่านประโยค สิ่งที่เราต้องทราบคือ ประโยคกล่าวถึงใคร (Subject) ทำอะไร (Verb) เพราะสิ่งนี้ จะทำให้เข้าใจ Main Idea ของประโยค ส่วน Supporting details ของประโยคจะประกอบด้วยข้อมูลต่างๆ เช่น ทำต่อใคร (Object)



แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ (Reading for Main Idea Exercises)


Directions: Read and find the main ideas of all these short passages

1. After the hurricane, there was no water and not much food on the island. It is still very bad. Many people no longer have homes and living in schools. Others are in hospitals. We need help from other countries.
A. The writer wants to help for his family.
B. The writer wants to help for his country.
C. The writer wants some food for his country.

2. John never has any money. He has a good salary, but he’s always borrowing money, “Where does it go?” asks his mother. “Don’t ask me, says John, “All I do is buy clothes, go to the theater and eat in the restaurants.”
A. John eats in restaurants.
B. John’s mother buys clothes with his money.
C. John uses all his money and doesn’t save.

3. Erika liked the blue dress and wanted to buy it. “How much is it?” She asked. “Twenty ninety-five,” said the clerk. “Oh, I don’t have that much money,” said Erika. “You can charge it,” answered the clerk.
A. The dress was twenty ninety-five.
B. Erika liked the dress and wanted to buy it.
C. Erika didn’t have the money.

4. Mr. James has a financial problem. He tries to pay his bills every month. This month he paid the rent, the gas company, and the department stores. He didn’t pay his electricity bill. Now Mr. James can’t even watch television!
A. Mr. James doesn’t have television.
B. Mr. James doesn’t have gas.
C. Mr. James doesn’t have electricity.

5. Bicycles are very popular today in many countries. Many people use bicycles for exercise. But exercise is only one of the reasons why bicycle are popular. Another reason is money. Bicycles are not expensive to buy. They do not need gas to make them go. They also are easy and cheap to fix. In cities, many people like bicycles better than cars. With a bicycle, they never have to wait in traffic. They also do not have to find a place to park. And finally, bicycles do not cause any pollution!
A. Bicycles are better than cars.
B. Bicycles do not cause the pollution.
C. Bicycles are popular today for many people.

6. Louise called Mark on Saturday morning. “What are you doing tonight?” she asked. Mark said, “Tom asked me to go to a baseball game with him. Do you want to come with us, too? He can bring his friend, Jack” “OK,” said Louise. “I like Jack.”
A. The four friends are going to a baseball game.
B. The two friends are going to a baseball game.
C. Tom and Mark are going to a baseball game.

7. Eric went to a movie and enjoyed it very much. It was the story of a family with 17 children. The family sang and danced. After the movie, Eric said to his mother, “That was good. Why don’t you go to see it, too?”
A. Eric saw a movie with 17 children.
B. Eric told his mother to see the movie.
C. Eric saw an entertaining movie yesterday.

8. “The prices are very high in this restaurant,” said Evelyn to her friend. “Don’t think about the price,” said Edwin. “I want you to enjoy your meal. Order anything you want from the menu. My salary is higher now, and I have a lot of money for our dinner.”
A. Evelyn and Edwin are eating in a restaurant with high prices.
B. Evelyn can order anything she wants from the menu.
C. Edwin has a higher salary now.

9. Jenny worked late four days, and her boss wanted to thank her. He paid her more money and took her to dinner at a nice restaurant. “You’re a good secretary, Jenny,” he said. “Thank you for your help.”
A. The boss paid Jenny extra money.
B. The boss wanted to thank Jenny for her help.
C. The boss took Jenny to dinner.

10. Juan loves to play games. His favorite game is chess because it requires a great deal of thoughts .Juan also likes to play less demanding board games that are based mostly on luck. He prefers Monopoly because it requires luck and skill. If he’s alone, Juan likes to play action video games very much
A. Juan dislikes violence.
B. Juan likes to think.
C. Juan enjoys Monopoly.




เฉลยแบบฝึกหัด
1.B 2. C 3. C 4. C 5. C 6. A 7. B 8. B 9. B 10. B

การใช้ There is และ There are

การใช้ There is และ There are

There is / There are มีความหมายว่า "มี” ใช้เมื่อต้องการจะบอกว่า "มีอะไรอยู่ที่ไหน" เช่น

How many books are there on the shelf?
มีหนังสืออยู่บนชั้นกี่เล่ม
There is a book on the shelf.
มีหนังสืออยู่บนชั้น 1 เล่ม

How many apples are there on the tree?
มีแอ๊ปเปิ้ลอยู่บนต้นไม่กี่ผล
There is an apple on the tree.
มีแอ๊ปเปิ้ลอยู่บนต้นไม้ 1 ผล

How many students are there in the classroom?
มีนักเรียนอยู่ในห้องเรียนกี่คน
There are 8 students in the classroom.
มีนักเรียนอยู่ในห้องเรียน 8 คน

How many bears are there in the cage?
มีหมีอยู่ในกรงกี่ตัว
There are 2 bears in the case.
มีหมีอยู่ในกรง 2 ตัว

จากประโยคตัวอย่างข้างต้นจะพบว่า There is / There are ใช้แตกต่างกัน ดังนี้

1. There is ใช้นำหน้าคำนามเอกพจน์ หรือคำนามนับไม่ได้ เช่น

There is a book on the shelf.
มีหนังสืออยู่บนชั้น 1 เล่ม


There is an apple on the tree.
มีแอ๊ปเปิ้ลอยู่บนต้นไม้ 1 ผล

There is water in the glass.
มีน้ำอยู่ในแก้ว
** เนื่องจาก water เป็นคำนามที่นับไม่ได้

2. There are ใช้นำหน้าคำนามพหูพจน์ เช่น

There are 8 students in the classroom.
มีนักเรียนอยู่ในห้องเรียน 8 คน

There are 2 bears in the case.
มีหมีอยู่ในกรง 2 ตัว

Make and Do

Make and Do

คำว่า make และ do นั้น แม้จะมีคำแปลเหมือนกันในภาษาไทย แต่ในภาษาอังกฤษ มีหลักการใช้แตกต่างกันดังนี้

1. หากต้องการใช้คำว่า make ให้นึกถึงเสมอว่า ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมาใหม่ หมายรวมถึงการสร้างสิ่งต่างๆด้วย เช่น ทำการนัดหมาย (make an appointment) ทำความผิดพลาด (make a mistake) สร้างมิตรสัมพันธ์ (make friend) ตัวอย่างสำนวนที่ใช้กับ make

make arrangements ทำการจัดการ
make a decision ทำการตัดสินใจ
make a comment แสดงความคิดเห็น
make an excuse แก้ตัว
make friends ผูกมิตร
make a journey เดินทาง
make love ร่วมรัก (มีเพศสัมพันธ์)
make a mess ทำความวุ่นวาย
make a mistake ทำความผิดพลาด
make money หาเงิน
make a move ทำการเคลื่อนย้าย
make a noise ส่งเสียงดัง
make a phone call โทรศัพท์
make a plan วางแผน
make a point สร้างประเด็น
make a profit ทำกำไร
make a promise ให้สัญญา
make a suggestion ให้คำแนะนำ
make time ทำเวลา
make your bed เก็บเตียง

2. ส่วนคำว่า do นั้น เราจะใช้บรรยายสิ่งที่เราทำเป็นกิจวัตรประจำวัน เป็นพวกกิจกรรมต่างๆ เช่น รีดผ้า (do a laundry) ทำการบ้าน (do homework) ทำงานอดิเรกต่างๆ เป็นต้น ยกตัวอย่างสำนวนที่ใช้กับ do

do business ทำธุรกิจ
do the dishes ทำความสะอาดจาน
do a favour ช่วยเหลือ
do good ทำความดี
do harm ทำอันตราย
do your best ทำให้ดีที่สุด
do your hair ทำผม
do your nails ทำเล็บ


Exercise! Make or do?

1. It’s time for you to …… your homework (ทำการบ้าน)
2. I want to ……some shopping (ไปซื้อของ)
3. What do you……for a living? (ทำมาหาเลี้ยงชีพ)
4. Samantha ……well in a test (ทำข้อสอบได้ดี)
5. The carpenter ……a chair (ทำเก้าอี้)
6. My boss is …….ing an appointment (ทำการนัดหมาย)
7. Do not……a mistake! (ทำความผิด)
8. John is ….. ing research about tropical plants. (ทำการค้นคว้า)
9. Let’s ……some jogging (วิ่งเหยาะๆ)
10 I am ……ing housework (ทำงานบ้าน)



เฉลย

1. do
2. do
3. do
4. do
5. make
6. make
7. make
8. do
9. do
10. do

วันจันทร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2555

Each and Every

Each and Every

สองคำนี้มีความหมายคล้ายกัน แต่ไม่เหมือนอย่างสิ้นเชิง
Each หมายถึง แต่ละ หรือ ทุกๆ
Every หมายถึง ทุกๆ

ยกตัวอย่างกรณีที่สามารถใช้ได้ทั้ง each และ every โดยยังคงความหมายไว้คงเดิม เช่น
The fuel price rises up each year.
The fuel price rises up every year.
ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นทุกๆปี

แต่โดยทั่วๆไปแล้ว การใช้ each และ every จะแตกต่างกันดังนี้

1. Each สามารถวางไว้หน้ากริยาได้แต่ every ต้องวางหน้าคำนามเท่านั้น

2. Each สามารถวางไว้หน้า บุพบท of ได้ อต่ every วางหน้าบุพบท of ไม่ได้

3. Each สามารถใช้กับสิ่งของหรือคนสองคนได้ในขณะที่ every ใช้กับของสองสิ่งหรือคนสองคนไม่ได้ เช่น
Jim is carrying a cup of coffee in each hand.
Amanda and Emily are talking on phone. Each of them is very cheerful.

4. Every จะต้องตามหลังด้วยคำนามเสมอ เช่น
I have to wake up every hour at night to look after the baby.
Every student should obey their elders.
Every cat has a tail.
Every room in this school is air-conditioned.

** ข้อสังเกต กริยาที่ใช้กับ each และ every จะอยู่ในรูปของเอกพจน์เสมอ



Imperative and– Let

Imperative and– Let

วิธีการใช้ Imperative มักจะใช้ v ช่องที่ 1 ขึ้นต้นประโยคด้วย Infinitive หรือกริยาช่องที่หนึ่งที่ไม่มีการเปลี่ยนรูป
มีดังต่อไปนี้

1. สั่ง (order) หรือออกคำสั่งให้ผู้อื่นทำอะไรให้เรา เช่น

Stand up straight. ยืนตรง

Give me the details. เอาลาลอะเอียดมาให้ผม


2. ให้คำแนะนำ (instruction) ผู้อื่น เช่น

Open your book. เปิดหนังสือ

Take two tablets every evening. รับประทานสองช้อนโต๊ะทุกเวลาเย็น


3. เชิญให้ผู้อื่นทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งร่วมกับผู้พูด

Come in and sit down. Make yourself at home. เข้ามานั่งด้านใน ทำตัวตามสบาย

Have a piece of this cake. It's delicious. กินเค้กนี้ซักชิ้นสิ อร่อยนะ


4. ให้สัญญาณ แจ้ง หรือประกาศต่าง ๆ ให้ผู้อื่นทราบ เช่น

Push. ผลัก

Do not use. ห้ามใช้

Insert one dollar. หยอดเงิน 1 เหรียญ


5. ให้คำแนะนำอย่างเป็นกันเอง เช่น

Speak to him. Tell him how you feel. บอกกับเขา ว่าคุณรู้สึกอย่างไร

Don't go. Stay at home and rest up. Get some sleep and recover. อย่าไป อยู่บ้านพักผ่อน รักษาตัว

6. ห้ามไม่ให้ผู้อื่นทำสิ่งต่าง ๆ เช่น

Don't sit here. ห้ามนั่งตรงนี้

Don't call me again. อย่าโทรหาฉันอีก

Don't buy this car. อย่าซื้อรถคันนั้น

หมายเหตุ ถ้าต้องการให้ประโยค Imperative สุภาพยิ่งขึ้น ควรเติม 'do' ไว้ข้างหน้า เช่น

Do be quiet.

Do come.

Do sit down.


แต่ถ้าต้องการห้ามไม่ให้ทำอะไรก็ให้นำ "do not" หรือ "don't" มาวางไว้หน้า Infinitive เช่น

Don't swim here.

Don't use a mobile.

Don't copy homework.

Let-มีลักษณะของการพูดจูงใจ และการเสนอข้อคิดเห็น ในการคบหากันในหมู่เพื่อนฝูง หรือเพื่อนร่วมงาน การใช้ let อย่างเหมาะสม จะช่วยเพิ่มพูนความสบายใจให้กันและกันด้วย

1. let me ~ ให้ฉัน
A : Hello. This is Rick. May I speak to Jessie?
B : This is she. Rick, you caught me at a bad time.Let me call you back later,OK?
A : Sure.

A : ฮัลโหล นี่ริคพูดครับ ขอพูดกับพูดกับเจสซี่ครับ
B : นี่เจสซี่พูดค่ะ ริคคุณโทรมาผิดเวลาเสียแล้ว ไว้ให้ฉันโทรกลับไปหาทีหลัง ตกลงไหม
A : ตกลง

let ในที่นี้ใช้เป็นคำกริยา แสดงการเสนอแนะ หรือเป็นคำสั่งทางอ้อม(to be used in giving suggestions or giving commands)เช่น let me give you a hand.(ให้ผมช่วยคุณไหม)
You caught me at a bad time.ใช้กับเรื่งราวที่เกิดขึ้นในเวลาที่ไมเหมาะสม เช่น คุณกำลังอาบน้ำแล้วก็มีคนโทรศัพท์มาหาคุณในตอนนั้น

แบบฝึกหัด
1. ___that down
2. ___ up
3. ____ behind the line, please.
4. ____ to page 87
5. ____one pill three times a day.

เฉลยแบบฝึกหัด
1. Put that down
2. Shut up
3. Stand behind the line, please.
4. Turn to page 87
5. Take one pill three times a day.